Tuesday, December 23, 2014

Investment Objective เราแปรเปลี่ยนง่ายไปตาม market price หรือไม่

นานๆ จะเขียนบทความที อิอิ อย่าเบื่อนะครับ ผมพยามเลือกเขียนในภาวะตลาดบางภาวะเท่านั้น เพราะรุ้ว่านส่วนมากจะมีสติเยอะขึ้นก็ในสภาวะตลาดแบบนี้ โดยเราจะเปิดมุมมองเปิดใจของเรามากขึ้นนั่นเอง ^ ^
Investment Objective เราแปรเปลี่ยนง่ายไปตาม market price หรือไม่

- แน่นอนว่าการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ไปตามสถานการณ์เป็นสิ่งที่ดี แต่ทุกอย่างมีสองด้านเสมอ โดยเฉพาะคนที่ต้องบริหารลงทุน หรือ งานที่ต้องมองหาโอกาสในการลงทุนอยุ่เสมอ หลายครั้งที่เราปรับเปลี่ยนความตั้งใจ หรือ แผนการณ์การ ในการลงทุนของเราเพี ยงแค่ราคาตลาดที่ผันแปร และหลายครั้งสิ่งนี้เองก็เป็นตัวให้เราพลาดโอกาสในการลงทุนดีๆอยู่เสมอ เพราะ จุดอ่อนของมนุษย์เราคือความต้องการความเป็นที่สุด หรือ Perfect Strategy นั่นเอง และนั่นเองที่ย้อนกลับมาทำร้ายตัวเราจาก player อีกกลุ่มที่เข้าใจจุดอ่อนเหล่านี้ของเราดี เช่นต้องซื้อให้ถูกที่สุด หรือ ขายให้ได้จุดที่สูงที่สุด แน่นอนว่าคำตอบเหล่านี้ไม่มีใครรู้ แม้กระทั่ง โซรอส หรือหลายๆคน เองก็ตาม ไม่งั้นหลักการเฮดจ์คงไม่เกิดขึ้นถ้ามีคนที่รู้คำตอบเหล่านี้

- เราต้องลองย้อนถามตัวเอง ว่าเป้าหมายการลงทุนของเราแท้จริงคืออะไรกันแน่ ถ้าเราเน้นลงทุน ราคาเป้าหมายในการลงทุนของเรามาจากไหนกันแน่ โดยเฉพาะคนที่อยากลงทุน ไม่ใช่คนที่แสวงหากำไรจาก market price นะครับ บางครั้งเราก็สับสนกับแนวคิดของเราเอง เพราะเราอยากลงทุน แต่มัวไปเล็ง market price ทั้งๆที่ทำการบ้างเรื่องเศรษฐกิจของเรา และ สิ่งที่เราสนใจเอาไว้แล้วอย่างดีเป็นต้น
เช่น ตั้งเป้าไว้ว่า หากลงทุนทองคำได้ต้นทุนเท่ากับ ผู้ผลิตทองรายใหญ่ของโลกได้คงดี ตอนนั้นนะราคา 1450 ก็คิดแบบนี้ พอราคาทองลงมา 1130 เราก็อยากจะลงทุนได้ถูกกว่าผลิตรายใหญ่ของโลก เปลี่ยนเป้าไปที่ 800

หรือ เช่นเดียวกัน จะน้ำมัน หรือ อะไรก็ตาม หากเราลองเปิดใจดูโอกาสในการลงทุนมีอยุ่เสมอ เพียงแต่ตัวเราเองที่ปล่อยให้มันหลุดมือไปเพราะ สับสนระหว่างคำว่า investment vs. speculate เพราะไม่มีกฏใดๆบังคับเราเลยว่า หากราคาเรามาถึงจุดที่เราอยากลงทุนแล้ว ให้อัดซื้อเต็มพอร์ต แต่เราเองต่างหากที่เลือกกลยุทธ์สุดโต่งให้เราเองคือ อัดเต็มพอร์ต แล้วก็เจ็บปวดจากราคาตลาด หรือ ไม่เราก็ไม่ซื้อเลยต้องรอราคาที่ถูกที่สุด ต้องถูกกว่าชาวบ้านแม้กระทั่งต้องถูกกว่าตัวผู้ผลิตผู้นำในอุตสาหกรรมนั้นๆ แล้วก็พลาดโอกาสเหล่านั้นไปเรื่อยมา เวลาทุกอย่างมันกลับมาปกติ เป็นต้น

ตย. อีกตัวอย่างที่เห็นชัด จากบทวิเคราะห์ฝรั่ง ค่าเงินรัสเซียตอนอยุ่ที่ 48 ทุกคนก็มีเป้าหมายจากการวิเคราะห์ต่างๆนานาๆว่ามันควรอยู่แถวๆ 60 แต่พอมันมาอยุ๋ที่ 58 ตอนนี้ทุกคนเหล่านั้นกลับมองมันที่ 80 ถ้า logic ของเราเปลี่ยนแปลงไปง่ายขนาดนี้ นั่นต่างหากคือสิ่งที่น่ากลัว เพราะไม่มีอะไรการันตีเป้าหมายของการลงทุนของเราในอนาคตได้เลย

บทความนี้ไม่ได้เขียนเพื่อกระตุ้นให้ทุกคนอยากซื้อแบบไม่มีเหตุผลนะครับ แต่เขียนเพื่ออยากให้เราทบทวนตัวเองว่าจริงๆแล้วเราอยากซื้อ อยากลงทุนเพราะอะไรกันแน่ หากเราเก็งกำไรคงไม่ผิดที่จะรอจังหวะที่ดีจากราคาตลาดครับ

No comments:

Post a Comment