coppy มาจาก
จริงๆแชร์ไว้ที่ facebook ก็ได้เก็บไว้อ่านเอง แต่ post มักโดนอุ้ม
True Alpha คืออะไร คือหลักการที่เฮดจ์ฟันพวกที่ไม่เคยเจ๊งมาก่อนในประวัติศาสตร์นำมาใช้ ที่ผมเน้นคำว่าไม่เคยเจ๊งมาก่อนหมายความว่าอย่างไร ในโลกของเฮดจ์ฟันจะมี concept อยุ่ 2 แนวทาง คือพวกที่เชื่อในเรื่องของการตามล่าหา Return หรือผลตอบที่มากกว่าหรือชนะตลาด กับ อีกพวกหนึ่งคือพวกที่ตามหาความเป็นอมตะของเงินทุนตัวเอง หรือ เรียกง่ายๆตามภาษาชาวบ้านคือการไม่มีต้นทุนในการลงทุน (True alpha หรือ Absolute Return นั่นเอง)ซึ่งหลักการนี้ได้มีการนำมาใช้นานแล้ว โดยผู้ที่เริ่มพัฒนาต่อยอดแรกๆมีหลายๆ คนที่ดังๆคือ Ray Dalio , Jame simon , Soros ,Warren buffet เป็นต้น การจะเข้าถึง True Alpha นั้นเราต้องมีความเข้าใจในเรื่องการสร้างพอร์ตอย่างแท้จริง นั่นหมายความว่าเฮดจ์ฟันประเภท True alpha จะยอมเสียเวลาในช่วงแรกๆไปในการพยามสร้างโครงสร้าง portfolio ในการเอื้อสู่ภาวะ true alpha นั่นเองPortfolio Management ในการทำ True alpha นั้นจะต้องประกอบไปด้วยอะไรบ้างผมขอยกตัวสมการของ Ray Dalio มาเพื่ออธิบายให้เข้าใจนะครับReturn = Cash + Beta +Alpha
โดยทางเฮดจ์ฟันสาย True alpha จะเชื่อว่าหากเราจะมีผลตอบแทนที่ยั่งยืนได้พอร์ตของเราต้องประกอบไปด้วย 3 ส่วนในสมการข้างต้นครับ ผมจะค่อยๆกล่าวทีล่ะตัวนะครับ Cash = คือเงินสด หรือ สิ่งเทียบเท่าเงินสด ที่พร้อมจะสามารถเคลื่อนย้ายไปในการลงทุนตลอดเวลา หรือ เกือบทันทีเมื่อมีโอกาส ดังนั้นหากใครที่ cash น้อยมากๆ ก็จะทำให้เสียโอกาสเมื่อมีเหตุการณ์ผิดความคาดหมายเกิดขึ้นในตลาดBeta = ต้องบอกก่อนเลยว่า มันไม่เหมือนกับตำราราที่เราเรียนด้านการเงินนะครับ เพราะ Hedge fund ประเภท true alpha จะใช้พอร์ตตัวเอง เป็น benchmark เสมอ เค้าไม่สนใจเหมือนกองทุนทั่วๆไปหรอกว่าคุณจะเทียบกับอะไร เทียบกับ index หรือ อะไรก็ตาม พวกกองทุน true alpha จะเทียบกับพอร์ตตัวเองเสมอ กล่าวคือ ใช้พอร์ตตัวเองคือ index หรือ เอาพอรืตตัวเองเป็นหลัก ดังนั้น beta ในที่นี้คือ ค่าความผันผวนที่คุณเก็บมาได้จากในตลาด หรือ cash flow ที่คุณหาได้นั่นเอง ไม่ว่าจะวิธีไหนก็ตามที่คุณใช้ล่าในส่วนต่างทุน เช่น Technical Analysis ,Kzm ,Dsm ดังนั้นเราจะเห็นว่าบ้านเราส่วนมากจะเน้นแต่วิธีการหา beta ไม่ได้มีการเน้นสร้างหรือพัฒนาตัว alpha ซึ่งผมจะพูดถึงต่อไปในอนาคต ดังนั้น หากคุณมีแต่ beta ประสิทธิภาพในการบริหารพอร์ตของคุณก็จะน้อยมากๆAlpha = คือการฝังตัวอ่อนการลงทุนในสิ่งที่ Value นั้นมันแตกต่างจากมุลค่าเหมาะสมในการแลกเปลี่ยนสินค้านั้นๆ ดังนั้น Alpha จะต้องฝังใน product ที่มีค่าความกลัวมากๆ หรือ มีค่าความโลภมากๆ และ product เหล่านี้โอกาสเป็น 0 น้อยมากๆ เช่น index หรือ commodities หรือ หุ้น under value ที่เรารุ้จักกิจการเหล่านั้นเป็นอย่างดี ดังนั้น เราจะเห็นว่า Value investor จะเน้นแนวทางนี้เป้นหลักก็คือแนวทางของ alpha ซึ่งไม่ต้องตกใจว่าทำไม Vi ถึง ตกับนักเทคนิคบ่อยๆ เพราะสองคนต่างเชื่อในคนล่ะส่วนของ portfolio management นั่นเอง แต่ถ้าเราเปิดใจจะเห้นว่า buffet ปิดจุดอ่อนของตัวเองโดยการหา beta จากการ short put derivative ถึงทำให้ Growth ของเขาพัฒนาไปได้ดีกว่าคนอื่นที่เป็น Vi แต่ไม่สนใจ Beta เลยเป็นต้น ดังนั้น หากเราไม่สนใจ beta คนที่จะเป็น Vi ก้ต้องอดทน หรือไม่ก็ต้องมีเงินในระดับหนึ่งที่เรียกว่าปันผลหล่อเลี้ยงตัวเองได้ เพื่อรอวันที่ alpha จะ pay off เป็นต้นครับ
นีjการสร้าง portfolio แบบนี้จะทำแบบไหน โดยมากสูตร basic เราจะเน้นที่ 50 Cash : 40 Beta : 10 Alpha
ดังนั้นหากคนที่เข้าใจ kzm หรือ ระบบปกป้องทุนอื่นๆที่ดีพอ ก็จะสามารถรักษาสัดส่วน 40% ตรงนั้นได้โดยไม่มีความจำเป็นต้องเพิ่มทุนเลย ซึ่งพอได้ cash flow จากระบบ beta แล้วเราจะแบ่งส่วนเข้าสุ่ alpha หรือ ขยับขยาย bata ก็จะง่าย
ทีนี้มาดู alpha เนื่องจาก concept เราจะเลือกที่สิ่งที่คนกลัว หรือ โลภ เพื่อให้ได้ราคาดีๆ ดังนั้น จำนวนการลงทุนเราจะพยามเริ่มต้นที่น้อยๆ เช่น 10% ซึ่งหากเราคิดผิดขาดทุนอย่างมากคือ 10% ของพอร์ตโดยรวม และ ยิ่งถ้าเรารุ้จัก product นั้นดีพอ หรือ product ที่ไม่เป็น 0 โอกาสขาดทุน 5% ของพอร์ตโดยรวมก็ยากแล้ว เพราะนั้นหมายความว่า product alpha ที่เราเลือกต้องลงต่อจากจุดที่เราคิดว่าน่ากลัวมากๆแล้วไปอีก 50% เป็นต้น
ทีนี้เมื่อเราลง alpha ไปแล้วแน่นอน หากมันขาดทุนเราจะต้องเอา cash flow จาก bata มาโปะให้ได้ ซึ่งหาก beta โปะไม่ทัน ก็เป็นหน้าที่ของ cash นั่นเอง โดยที่เราจะต้องพยามโปะให้สัดส่วน value ของเราทำกับ 10% เหมือนเดิมที่เราลงทุนไปตอนแรก ดังนั้นปริมาณหุ้นหรือ asset ของเราจะเพิ่มขึ้น และถ้าเราดึง beta มาเพียงพอต่อการทำให้ต้นทุนของเราเป็น 0 ได้ก็เท่ากับเราได้ true alpha product มาแล้ว 1 ตัวเป็นต้นครับ แล้วเราจะไล่หาทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนมี product มากมายนับไม่ถ้วนครับ น่คือ หลักการง่ายๆของเฮดจ์ฟันที่เก่งๆในปัจจุบันนี้ ซึ่งหลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมเค้าไม่สนใจ Nav เลยว่าจะติดลบยังไง แต่ปริมาณเงินและ asset ของพวกนี้กลับเติบโตขึ้นทุกวัน เพราะ เค้ามีระบบต้นทุนของเค้าอีกแบบครับ หวังว่าจะเป็นไอเดียได้นะครับ ไว้โอกาสหน้ามีเวลาจะเข้ามาพิมพ์เรื่องอื่นๆอีกครับ ขอบคุณมากครับ
Read More »